นานาชาติประณามนโยบายการนำนักโทษมาทำงานบนเรือประมง

กลุ่มด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนมีความกังวลต่อสภาพการทำงานบนเรือประมง

(วอชิงตัน ดี.ซี.) – องค์กรด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนได้ส่งจดหมายถึง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย เพื่อขอร้องให้ยุติโครงการนำร่องที่จะนำผู้ต้องขังจากเรือนจำมาทำงานในภาคอุตสาหกรรมประมงเพื่อชดเชยการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานจากหลาย ๆ แห่งระบุถึงการละเมิดสิทธิ์แรงงานบนเรือประมงของไทย ไม่ว่าจะเป็น แรงงานบังคับ, การใช้ความรุนแรงทำร้ายร่างกาย, การให้ค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด, และการลักลอบค้ามนุษย์

“ประเทศไทยไม่อาจปฏิเสธปัญหาการลักลอบค้ามนุษย์เพื่อมาใช้แรงงานบนเรือประมง,”กล่าวโดย จูดี้ เกียร์ฮาร์ท (Judy Gearhart), ผู้อำนวยการบริหารของ International Labor Rights Forum  “และการส่งผู้ต้องขังไปยังทะเลไม่อาจจะแก้ไขปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานต่อเนื่องและลุกลามไปทั่วอุตสาหกรรมประมงของไทย ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลไทยจะต้องยอมรับว่าการปฏิบัติของตนต่อแรงงานข้ามชาติที่ผ่านมาเป็นสาเหตุหลักแห่งปัญหา และต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อสร้างสภาพการทำงานที่ยุติธรรมและมีเกียรติ์ศักดิ์ศรีแก่แรงงานทุกคนที่ทำงานในประเทศไทย”

องค์กรเหล่านี้ชี้ว่าปัญหาการละเมิดสิทธิ์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานบนเรือประมง และโครงการที่จะนำผู้ต้องขังมาทำงานไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา พวกเขายังแสดงความกังวลว่า นอกเหนือจากแรงงานข้ามชาติจากพม่าและกัมพูชาที่เป็นแรงงานหลักในภาคอุตสาหกรรมประมงและมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกละเมิดสิทธิ์แล้ว โครงการนี้ยังจะทำให้มีการใช้แรงงานจากผู้คุมขังซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดไม่น้อยไปกว่าแรงงานข้ามชาติ โดยแรงงานข้ามชาติในไทยส่วนมากเข้ามาทำงานโดยผิดกฎหมาย ทำให้พวกเขาไม่กล้าที่จะรายงานการถูกละเมิดสิทธิ์บนเรือประมงแก่เจ้าหน้าที่ของไทย

องค์กรเหล่านี้ยังชี้ให้เห็นว่า โครงการนี้อาจจะก่อให้เกิดผลเสียทางการเมืองและเศรษฐกิจแก่ประเทศไทย เนื่องจากบริษัทผู้ค้าและผู้ซื้อในประเทศตะวันตกได้มีความกังวลว่าผลผลิตอาหารทะเลของไทยมีการผลิตจากแหล่งผลิตที่ใช้แรงงานบังคับและมีการละเมิดสิทธิ์แรงงานอื่น ๆ องค์กรเหล่านี้ยังได้เตือนว่าการนำผู้ต้องขังมาใช้แรงงานอาจจะเพิ่มความกังวลให้กับบริษัทผู้ค้าและผู้ซื้อ ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้นต่อการซื้อสินค้าที่มาจากประเทศไทย

“บริษัทผู้ค้าที่เราทำงานด้วยในออสเตรเลียมีความอ่อนไหวสูงต่อความเสี่ยงที่จะมีการใช้แรงงานบังคับอยู่กระบวนการผลิต,” กล่าวโดย มาร์ก เซิร์นแซก (Mark Zirnsak), ผู้อำนวยการ Justice & International Mission at the Uniting Church in Australia Synod of Victoria and Tasmania จากออสเตรเลีย “เราทำงานกับผู้ค้าเหล่านี้ รวมทั้งผู้ผลิตสินค้าจากประเทศไทย เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและเพื่อยืนยันว่าสภาพการจ้างงานบนเรือประมงไทยมีความยุติธรรม เรามีความกังวลอย่างยิ่งว่าโครงการใช้แรงงานผู้ต้องขังจะเพิ่มความลำบากให้กับบริษัทผู้ค้าที่เราทำงานด้วยในการตรวจสอบยืนยันว่าไม่มีการใช้แรงงานบังคับในกระบวนการผลิต”

จดหมายนี้ยังได้ระบุว่าโครงการใช้แรงงานผู้ต้องขังอาจจะส่งผลให้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นำมาใช้พิจารณาว่ารัฐบาลไทยไม่มีความพยายามหรือไม่มีความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาความเสี่ยงการลักลอบค้ามนุษย์เพื่อนำมาใช้เป็นแรงงานบนเรือประมง ประเทศได้ถูกลดอันดับมายัง เทียร์ 3 ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา (Trafficking in Persons Report–TIP Report) ประจำปี 2014  ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำสุด โดยการละเมิดสิทธิ์ในภาคอุตสาหกรรมประมงเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ไทยถูกลดอันดับ

“ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยได้แสดงความมุ่งมั่นในการหยุดการใช้แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ แต่โครงการนำร่องนี้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามและมีแต่จะทำให้ปัญหาเลวร้ายกว่าเดิม,” กล่าวโดย ฟิล โรเบิร์ตสัน (Phil Robertson) รองผู้อำนวยการ Human Rights Watch Asia “โครงการนำนักโทษมาทำงานบนเรือประมงควรถูกยกเลิกโดยทันที”



Contacts:

In Thailand

Phil Robertson, Human Rights Watch, +66-85-060-8406, [email protected]

In Australia

Mark Zirnsak, Uniting Church in Australia, Synod of Victoria and Tasmania, [email protected], +61 3 9251 5265,

In North America

Abby McGill, International Labor Rights Forum, [email protected], +1-913-620-5063