แรงงานข้ามชาติกำลังจะสามารถทำใบขับขี่ได้ สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายความมั่นคง

สำหรับการเผยแพร่: วันที่ 31 ตุลาคม 2552
กรมการขนส่งทางบกประกาศว่าแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ลาวและกัมพูชารวมทั้งชาวเขาที่มีบัตรประจำตัว
บุคคลบนพื้นที่สูงสามารถจดทะเบียนเป็นเจ้าของรถได้และอยู่ระหว่างการดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงเพื่อ
ให้บุคคลเหล่านี้สามารถทำใบขับขี่ได้นับเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายความมั่นคงที่เคยปฏิเสธสิทธิของคน
กลุ่มนี้ที่มีมานานกว่า15 ปีและส่งผลดีต่อแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนกว่าหนึ่งล้านคนรวมทั้งชนกลุ่มน้อย
ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย

นายโคทม อารียา ประธานมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา แสดงความยินดีต่อการเปลี่ยนแปลง
นโยบายนี้ว่า“นโยบายใหม่เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งเพราะการปฏิเสธไม่ให้คนที่อาศัยอยู่ในสังคม
ของเราได้ใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมนั้นไม่ได้มีผลใดๆในแง่ของความมั่นคงของประเทศมีแต่จะเพิ่มภาวะ
ความกดดันเปิดโอกาสให้แก่การทุจริตรวมทั้งเป็นการทำลายชื่อเสียงและความมั่นคงของประเทศด้วย”
นับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมากรมการขนส่งทางบกด้วยความเห็นชอบของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ไม่เปิดโอกาสให้ชนกลุ่มน้อยและแรงงานข้ามชาติสามารถจดทะเบียนเป็นเจ้าของรถและทำใบขับขี่
แม้ว่าบุคคลเหล่านี้จะมีความจำเป็นต้องใช้รถในชีวิตประจำวันก็ตาม

เมื่อปลายปี 2551 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(มสพ.)ได้เริ่มทำการรณรงค์คัดค้านนโยบายนี้
เมื่อตำรวจภูธรภาค 5 ได้บุกเข้าตรวจค้นแคมพ์ที่พักของแรงงานไทยใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ตอนเช้าตรู่
โดยมุ่งจะจับกุมแรงงานข้ามชาติที่ผิดกฎหมายผลจากการเข้าตรวจค้นดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยึดรถ
จักรยานยนต์ไว้เป็นจำนวนมากโดยแจ้งข้อหาว่ารถดังกล่าวอาจเป็นรถที่ถูกขโมยมาเพียงเพราะแรงงาน
เหล่านี้ไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของและขับขี่รถจักรยานยนต์การติดต่อขอรับรถจักรยานยนต์ที่ถูกยึดคืน
จากเจ้าหน้าที่ตำรวจก็เป็นไปอย่างยากลำบากต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและเผชิญกับขั้นตอนที่ไม่เป็นทางการ
ในการยืนยันว่ารถจักรยานยนต์ของพวกเขาไม่ได้ถูกขโมยมาแต่อย่างใดรวมทั้งต้องเจรจากับตำรวจใน
เรื่องค่าปรับสถานการณ์ของแรงงานข้ามชาติในเรื่องนี้ตกอยู่ในความไม่แน่นอนเนื่องจากกรมการขนส่ง
ทางบกปฏิเสธไม่ให้พวกเขาจดทะเบียนเป็นเจ้าของรถและทำใบขับขี่ได้

หลังจากการร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)การบุกเข้าตรวจค้นได้ยุติลง
อย่างไรก็ตามการยึดรถจักรยานยนต์ของแรงงานข้ามชาติตามท้องถนนในจังหวัดเชียงใหม่กลับมีจำนวน
สูงขึ้นโดยก่อนหน้าที่ตำรวจจะลดค่าปรับลงครึ่งหนึ่งนั้นได้ทำการจับและปรับแรงงานข้ามชาติที่ขับรถ
จักรยานยนต์บางรายสูงถึง2,000 บาทในแต่ละครั้งบ่อยครั้งที่การจ่ายค่าปรับก็เป็นไปอย่างไม่เป็น
ทางการในขณะที่ค่าปรับในข้อหาเดียวกันสำหรับคนไทยอยู่ที่200 บาทเท่านั้น แรงงานข้ามชาติยังคง
เผชิญหน้ากับความยากลำบากในการดำเนินกิจวัตรประจำวันเช่น การส่งลูกๆไปโรงเรียนและการจับจ่าย
ใช้สอย ดังนั้น มสพ.จึงได้เข้าพบและเจรจากับตำรวจเพื่อขอให้ยุตินโยบายการยึดรถและปรับในระหว่าง
ที่รอให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณาที่จะอนุญาตให้แรงงานข้ามชาติสามารถจดทะเบียนรถและทำใบ
ขับขี่ได้ มสพ.ได้สนับสนุนให้แรงงานชาวไทยใหญ่ดำเนินการจดทะเบียนเป็นเจ้าของรถและยื่นคำขอ
ทำใบขับขี่แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่ปฏิเสธต่อมาจึงได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ในเรื่องดังกล่าว ท้ายที่สุด
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2552 กรมการขนส่งทางบกได้ออกหนังสือเวียนที่อนุญาตให้แรงงานสามารถ
จดทะเบียนรถและทำใบขับขี่ได้ และได้เผยแพร่เนื้อหาของหนังสือเวียนดังกล่าวในหนังสือแจ้งข่าว
ของกรมการขนส่งทางบกเมื่อวานนี้

นายโคทม กล่าวสรุปว่า “หนังสือเวียนฉบับนี้ถือเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่ง ในด้านสิทธิของชนกลุ่มน้อย
ในประเทศไทย มสพ. หวังว่าเรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งหลักประกันว่าแรงงานข้ามชาติและชนกลุ่มน้อย
อื่นๆที่อาศัยและทำงานในประเทศไทยจะได้รับสิทธิทางสังคมและสิทธิมนุษยชนอันพึงมีไม่ว่าจะมีสัญชาติ
ใดและสถานการณ์ในการเข้าเมืองจะเป็นเช่นใดซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและมาตรฐานสากลแห่ง
สิทธิมนุษยชน”

*มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)
มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสนับสนุนมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนประชาธิปไตยและสันติภาพ

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ :
*นายโคทม อารียา (ประธานมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา) 081-828-0916
*นายสุมิตรชัย หัตถสาร (ผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น) 081-950-7575
*โครงการยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
084-119209/083-013-9736 (ภาษาไทยและพม่า)