มสพ.แนะรัฐยกเลิกนโยบายกวาดล้างแรงงานข้ามชาติ ชี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง

สำนักข่าวไทย

กรุงเทพฯ 21 มิ.ย.- มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) เรียกร้องรัฐบาลไทยยกเลิกน โยบายกวาดล้างแรงงานข้ามชาติ ชี้อาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่าง ร้ายแรงต่อแรงงานข้ามชาติกว่า 1 ล้านคน พร้อมขอให้มีการจดทะเบียนรอบใหม่เพื่อให้แรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้ ขึ้นทะเบียนและทำงานอยู่ในประเทศไทย มีโอกาสจดทะเบียนและเข้าสู่กระบวนการ พิสูจน์สัญชาติ

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับคำสั่งตั้งศูนย์เฉพาะกิจปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงาน ของนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ ผ่านมา โดยศูนย์นี้ทำหน้าที่กวาดล้างแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จด ทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า คำสั่งนี้มีเป้าหมายในการกวาดล้างแรงงานข้ามชาติกว่า 300,000 คน ที่ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติในช่วงของการต่อใบอนุญาต ทำงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ คาดว่าแรงงานข้ามชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้จด ทะเบียนมากกว่า 1 ล้านคนซึ่งไม่ สามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้ อาจตกเป็นเป้าหมายในการกวาดล้างครั้งนี้ด้วย

มสพ.ขอเตือนรัฐบาลให้ระวังว่านโยบายกวาดล้างแรงงานขามชาติครั้ง นี้ อาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อแรงงานข้าม ชาติกว่า 1 ล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานข้าม ชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่า ซึ่งประสบการณ์ที่ผ่านมาได้แสดง ให้เห็นแล้วว่าการกวาดล้างแรงงานข้ามชาติได้นำไปสู่การเพิ่มจำนวน การจับกุม คุมขัง และการบังคับขู่เข็ญ รีดไถแรงงานข้ามชาติโดยเจ้าหน้า ที่ที่ทุจริต ทั้งยังนำไปสู่ความรุนแรงและการเสียชีวิต มสพ. จึงเห็นนโยบายการกวาดล้างนี้เป็นนโยบายที่ไม่เหมาะสมไม่สอดรับกับ สภาพเศรษฐกิจอีกทั้งยังไม่สามารถเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ ได้

ทั้งนี้ มสพ.เสนอแนะต่อรัฐบาลไทย ดังนี้

1.รัฐบาลไทยควร ยกเลิกนโยบายการกวาดล้างแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนเพื่อ เป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนและใน ฐานะที่ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษย ชนแห่งสหประชาชาติ

2.รัฐบาลไทยควร เปิดให้มีการจดทะเบียนรอบใหม่เพื่อให้แรงงานข้ามชาติประมาณ 1-1.4 ล้านคนที่ไม่ ได้ขึ้นทะเบียนและทำงานอยู่ในประเทศไทยในขณะนี้ได้มีโอกาสจด ทะเบียนและเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ

3.กระทรวง แรงงานควรทบทวนอย่างจริงจังถึงวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ ตั้งไว้ในการส่งเสริมการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้า สู่ประเทศไทยอย่างถูกต้องในอนาคต เพื่อให้เป็นกระบวนการที่สิทธิมนุษย ชนขั้นพื้นฐานได้รับการเคารพและป้องกันการขูดรีดอย่างรุนแรงต่อ แรงงานทั้งในทางเศรษฐกิจและในด้านอื่นๆ

4. กระทรวงแรงงานควรควบคุมกิจการเกี่ยวกับการบริการ พิสูจน์สัญชาติของบรรดาบริษัทนายหน้าที่มีอยู่ เนื่องจากกฎระเบียบที่ใช้อยู่ตอนนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพและยัง เรียกเก็บค่าบริการในอัตราที่สูง

5.รัฐบาลไทยควร จัดให้มีการหารือเพื่อหาแนวทางการแก้ไขอย่างถาวรสำหรับปัญหาแรงงา นข้ามชาติที่ไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติได้

6.รัฐบาลไทยควร เริ่มการหารือถึงวิธีการบริหารจัดการด้านแรงงานข้ามชาติที่ ยั่งยืน โดยตั้งอยู่ในแนวทางที่สร้างความสมดุลระหว่างการส่งเสริมกา รพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนกับการเคารพสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้าม ชาติ และการหารือนี้จะต้องนำมาสู่แผนยุทธศาสตร์ในระยะยาว ด้านการจัดการการประชากรย้ายถิ่นสำหรับประเทศไทย

ในแถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า มสพ. เชื่อว่าการกระทำข้างต้นจะทำให้รัฐบาล ไทยสามารถจัดการกับความท้าทายด้านการย้ายถิ่นอย่างผิดปกตินี้ได้ ทั้งในแง่การเคารพสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติ และไม่ส่งผลทางลบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ.

ที่มา:

http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/69432.html

http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=336357&ch=gn1