แถลงการณ์สำหรับเผยแพร่อย่างเร่งด่วน วันจันทร์ ที่ 12 กรกฏาคม 2553: ให้นำแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบกองทุนเงินทดแทน

12072010663เรียน บรรณาธิการ/สื่อมวลชน

ในวันนี้ (12 กรกฎาคม 2553) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการ พัฒนา (มสพ.) องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรแรงงานไทยและองค์กรแรงงานระหว่าง ประเทศได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเพื่อยื่นข้อเส นอต่อนโยบายการจัดตั้งกองทุนเงินทดแทนสำหรับแรงงานข้ามชาติที่ให้ บริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ

รายละเอียดตาม แถลงการณ์และหนังสือที่แนบมานี้


แถลงการณ์สำหรับเผย แพร่อย่างเร่งด่วน: วันจันทร์ ที่ 12 กรกฏาคม 2553

เรื่อง ให้นำแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบกองทุนเงินทดแทน

ติดต่อสอบถามข้อมูล เพิ่มเติม

–  นาย สาวิทย์ แก้วหวาน (เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ [สรส.]) โทร. +66 (0) 863 361110 (ภาษาไทย)

–  นาย สมชาย  หอมลออ (เลขาธิการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชน และการพัฒนา[มสพ.]) โทร +66 (0) 818 995476 (ภาษาไทย/อังกฤษ)

–  นาย อานดี้ ฮอลล์ (ที่ปรึกษา มสพ.) โทร. +66 (0) 846 119209 (ภาษาอังกฤษ/ไทย)

–  นาย เซน เทย์ (เจ้าหน้าที่ภาคสนามโครงการยุติธรรมแรงงานข้ามชาติ มสพ.) โทร. +66 (0) 830 139736 (ภาษาพม่า/ไทย)

ด้วยสถานการณ์ แรงงานข้ามชาติในขณะนี้อยู่ในภาวะที่น่าห่วงใยเป็นอย่างยิ่งใน หลายกรณีและประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังถูกนานาชาติติดตามอย่าง ใกล้ชิดและมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่รัฐบาลไทยปล่อยให้มีการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ รวมทั้งเรื่องการเข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทน

กองทุนเงินทดแทนที่ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน พ.ศ.๒๕๓๗ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างโดยไม่จำกัดว่าเป็นแรงงานไทย หรือแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานให้แก่นายจ้างไม่ว่าจะขึ้น ทะเบียนหรือไม่ก็ตาม พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวได้กำหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนสำหรับการบริหาร การจัดการและการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ เสียชีวิต รวมทั้งการกำหนดโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ แต่ดูเหมือนพฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาให้ความ ช่วยเหลือและคุ้มครองลูกจ้างกำลังมีการเบี่ยงเบนเจตนารมณ์และแปร ความกฎหมายไปในทางที่ไม่ถูกต้อง และเข้าข่ายละเมิดสิทธิแรงงานของ ลูกจ้าง

แรงงานข้ามชาติใน ฐานะที่เป็นลูกจ้างและจะต้องได้รับการคุ้มครองเสมอแรงงานไทยอัน เป็นหลักการที่กฎหมายแรงงานทุกฉบับ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยฉบับปัจจุบันบัญญัติไว้เรื่องความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีเป็นชนชาติไหนที่มาอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย รวมทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติที่ ประเทศไทยเป็นภาคีซึ่งเป็นหลักการใหญ่ที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติ ตาม แต่ในความเป็นจริงแรงงานข้ามชาติถูกปฏิเสธไม่สามารถเข้าถึงก องทุนเงินทดแทนได้ โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.)ได้อ้างเงื่อนไขหนังสือ เวียนที่ รส.๐๗๑๑/ว๗๕๑ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๔ เรื่องการให้ความคุ้ม ครองแรงงานต่างด้าวที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จะได้รับเงินทดแทนได้ก็ต่อเมื่อมี ๑)ใบอนุญาตทำงาน ๒)หนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ๓)นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน ๔)แรงงานข้ามชาติต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากไม่มีหลักฐานเหล่านี้นายจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงิน ทดแทนให้แก่ลูกจ้างเองซึ่งข้อมูลจากการสำรวจพบว่าแรงงานข้ามชาติ ส่วนใหญ่ไม่ได้รับเงินทดแทนจากนายจ้าง และไม่สามารถรับเงินทดแทนและสิทธิ ใด ๆ จากกองทุนเงินทดแทนและทำให้ แรงงานข้ามชาติกว่า ๒ ล้านคนไม่สามารถเข้าถึงสิทธิของกองทุนเงินทดแทนได้ และแม้ว่าแรงงานข้ามชาติจะมีหลักฐานทะเบียนราษฎร์ ทร. ๓๘/๑ มีบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ออกโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และมีใบอนุญาตทำงานที่ออกให้โดยกรมจัดหางานแล้วก็ตาม แต่สำนักงานประกันสังคมก็ยังคงปฏิเสธสิทธิกองทุนเงินทดแทนของ แรงงานข้ามชาติ

ในช่วงเวลาที่ผ่า นมากระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามที่จะหาทางออก ด้วยการจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อจ่ายเงินทดแทนให้แก่แรงงานข้ามชาติโดย ให้บริษัทประกันชีวิตเอกชนเข้ามาบริหารจัดการกองทุนตามแนวคิดแต่การก ระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดเจตนารมณ์ของกฎหมายแรงงานทุกฉบับ และ พ.ร.บ.กองทุนเงินทดแทน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ และปฏิญญาสกลขององค์การสหประชาชาติตามที่กล่าวมา

ดังนั้น สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษย ชนและการพัฒนา(มสพ.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทยจึงขอให้รัฐบาลดำเนินการ ดังนี้

๑.ทบทวน แก้ไข และเพิกถอนระเบียบอันเป็นการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติไม่ให้ เข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทนของสำนักงานประกันสังคม

๒.หาแนวทางร่วมกัน จากภาคส่วนต่างๆทั้งรัฐบาล องค์การแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนแรงงานข้ามชาติเองเพื่อหา แนวทางปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเพื่อให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิกองทุน เงินทดแทน

๓.ให้ยกเลิกกระบวน การจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างแรงงานข้าม ชาติเพราะเป็นการละเมิดกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ

ด้วยความสมานฉันท์

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิ สาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)

มูลนิธิเพื่อสิทธิ มนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)

คณะกรรมการสมานฉันท์ แรงงานไทย (คสรท.)

สหพันธ์แรงงานขนส่ง ระหว่างประเทศ (ITF-Thai)

สหพันธ์แรงงานการบริการ และสาธารณูปโภคระหว่างประเทศ (PSI-Thai)

สหพันธ์แรงงานนานาชา ติกิจการเคมี พลังงาน ปิโตรเลียม และแรงงานทั่วไป (ICEM-Thai)

สหพันธ์แรงงานอุตสาห กรรมเหล็กโลหะระหว่างประเทศ (IMF-Thai)

เครือข่ายสหภาพแรงาน สากล (UNI-Thai)

สหพันธ์แรงงาน ก่อสร้างและไม้ระหว่างประเทศ (BWI-Thai)

กลุ่มสหภาพแรงงาน ย่านรังสิต และใกล้เคียง (R.A.T.G.)

กลุ่มสหภาพแรงงานภาค ตะวันออก

โครงการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (คสรพ.)

สำนักงานคณะกรรมการ เพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพแห่งสหรัฐอเมริกา (USCRI)

เครือข่ายเพื่อสิทธิ แรงงานข้ามชาติ (M.W.R.N.)