มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(มสพ.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กฎหมายคุ้มครองแรงงานในกิจการประมง : สำรวจความท้าทาย เสริมสร้างองค์ความรู้ และแนวทางการทำงานร่วมกัน
|
“ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีนโยบายทางด้านนี้มานานแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถขึ้นสู่เทียร์ 1 (Tier 1) ได้ ซึ่งกรมคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงานก็เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้กระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องที่จะขับเคลื่อนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน รวมถึงในเรื่องของการใช้แรงงานบังคับ การคุ้มครองแรงงานให้ลูกจ้างให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง “กาญจนา พูลแก้ว
14 พ.ค. 2567 ที่ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(มสพ.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กฎหมายคุ้มครองแรงงานในกิจการประมง : สำรวจความท้าทาย เสริมสร้างองค์ความรู้ และแนวทางการทำงานร่วมกัน กาญจนา พูลแก้ว รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็นสำคัญ:
-จัดหาแนวทางในการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พัฒนาแนวทางการคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
-แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในกิจการประมง
-กฎหมายและมาตรการคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงยังมีช่องโหว่
การบังคับใช้กฎหมายยังไม่ทั่วถึง
-ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-แรงงานข้ามชาติมีความไว้วางใจภาคประชาสังคมมากกว่าภาครัฐในด้านของภาษา การสื่อสาร
-ข้อจำกัดในการสืบสวนสอบสวนกรณีการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
-การสร้างความเข้าใจร่วมกันของทุกภาคส่วน
-มุมมองการตีความทางกฎหมายที่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ:
-พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
-สนับสนุนการทำงานของภาคประชาสังคม
-พัฒนาระบบการติดตามตรวจสอบ
-สร้างกลไกการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
-รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิแรงงา
-พัฒนาฐานข้อมูลแรงงานในกิจการประมง
ผลที่คาดหวัง:
-แรงงานในกิจการประมงได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพ
-ปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในกิจการประมงได้รับการแก้ไข
-ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับ Tier 1 ในการต่อต้านการค้ามนุษย์
-เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ เร็วๆนี้
ติดตามที่ https://hrdfoundation.org/