การสัมมนา การบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง ผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง และแนวทางในการแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมือง จัดโดย คณะกรรมาธิการการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
|
วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสัมมนา B1-2 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ประธานคณะ กมธ.การกฎหมาย ยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง “การบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง ผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง และแนวทางในการแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมือง” โดยมี นายพงศ์พันธุ์ จิตรานุกิจ ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานคณะ กมธ.การกฎหมาย ยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน กล่าวรายงาน ในการนี้ สส. ผู้แทนจากพรรคการเมือง หน่วยงานราชการ ภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ และประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมการสัมมนา
กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ประธานกรรมาธิการการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวเปิดงาน โดยเนื้อหาสาระสำคัญนั้นต้องการสัมมนาการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง ผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง และแนวทางในการแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมือง ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้มีการบังคับใช้มานานกว่า 45 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 ซึ่งมองว่าควรมีการปรับปรุงเพื่อให้เข้ากับบริบทสถานการณ์ปัญหาในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการเดินทางผ่านแดนของผู้คน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนโยกย้ายถิ่นบานหลายกลุ่ม โดย 4 กลุ่มสำคัญที่เกี่ยวข้อง คือ กลุ่มที่โยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติ ได้แก่ 1.แรงงานข้ามชาติ 2.ผู้แสวงหาผู้ลี้ภัย 3.ผู้ลี้ภัย และ 4.นักธุรกิจข้ามชาติ
บทบาทของรัฐสภาที่นำโดยกัณวีร์ สืบแสง รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม /ประธานอนุกรรมการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนต่อการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ และได้ตั้งคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือเป็น 1 ในคณะกรรมาธิการฝ่ายนิติบัญญัติในทั้งหมด 35 คณะกรรมาธิการ กัณวีย์ ถือเป็นนักการเมืองที่มีความรู้ด้านการย้ายถิ่นฐานไม่ปกติ ซึ่งการศึกษาผ่านฝ่ายนิติบัญญัตินี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาจริงจัง โดยได้มีการลงพื้นที่ทำรายงานข้อมูลที่ทำร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในประเด็น โดยเน้นลงพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ พื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก และ จ.ภูเก็ต
ผลการศึกษาพบว่า ข้อปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนโยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติ คือ ปัญหาการบังคับใช้ด้วยกฎหมายฉบับเดียว คือ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแน่นอนว่า กฎหมายทุกฉบับที่บังคับใช้มีเป้าประสงค์เพื่อควบคุมความสงบเรียบร้อย แต่ผลการศึกษาเห็นแล้ววว่าควรต้องมีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ให้ทันยุคสมัยโดยผ่านระบบรัฐสภา
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนเข้าเมืองในยุคทีผ่านมา ด้วยบริบทสถานการณ์การเมืองรอบประเทศไทย สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ กฎหมายที่ใช้อยู่ยังไม่ทันสถานการณ์ และตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีประวัติศาสตร์ประเทศไทยนั้น เราเป็นประเทศทางผ่านกับหลายกลุ่มที่ต้องการที่พักพิงหรือต้องการทำงาน สังคมไทยอยู่ร่วมกับผู้คนหลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรมายาวนาน และมีความต้องการแรงงานต่างชาติในการพัฒนาประเทศ
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย และอนาคตเรากำลังขาดแคลนแรงงาน โดยหากไม่แก้ปัญหาการจ้างงานแรงงานข้างชาติอย่างเป็นระบบและให้สิทธิพวกเขาที่พิงมีในฐานะมนุษย์นั้น อนาคตประเทศไทยจะได้รับผลกระทบทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
โจทย์ท้าทายสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญต่อไป คือ ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ(Aging Society) จากการที่จำนวนประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีกว่า 11.63 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.57 ของจำนวนประชากรทั้งหมด นัยสำคัญประการหนึ่งของปรากฏการณ์ดังกล่าวคือการที่ขนาดของกำลังแรงงาน ในระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลง จากการคาดการณ์โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห.งชาติ (สศช.) ประชากรวัยทำงานมีแนวโน้มลดลงจาก 43.26 ล้านคนในปี 2563 เป็น 36.5 ล้านคนในปี 2583 การก้าวสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society)
กัณวีร์ สืบแสง เน้นย้ำว่า เราต่างเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน we are all migrantsประเทศไทยเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยผู้อพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งแต่อดีต การโยกย้ายถิ่นฐาน คนไร้รัฐไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาต 60 ปีที่ผ่านมามีความซับซ้อนมากขึ้น นำไปสู่ปัญหาหลายประเด็นใหญ่ 2 ประเด็น 1.โยกย้ายถิ่นฐานด้วยเหตุผลเหนือกรอบกฎหมายภายในประเทศ 2.เหยื่อของการค้ามนุษย์ จากการที่ประเทศไทยไม่สามารถบริหารจัดการเท่าทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ต่อผู้โยกย้ายถิ่นฐาน
ปัญหาใหญ่ของสังคมไทย คือ “การมองพวกเขา” “การมองแรงงานเพื่อนบ้าน” “แรงงานต่างชาติ” “แรงงานต่างด้าว” เป็นคนอื่น น่าตั้งคำถามว่าทำไมถึงยังมีอยู่ทั้งที่ประเทศไทยอยู่กับผู้คนที่โยกย้ายถิ่นฐานมายาวนานตลอดประวัติศาสตร์
การช่วยเหลือทางมนุษยธรรม กินอิ่มนอนหลับ ช่วยเหลือเท่าที่มนุษยคนหนึ่งพึงมี ซึ่งไทยสามรถเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างทางกฎหมาย เร่งแก้ไข พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒, พระราชบัญญัติสัญชาติ, และมีนโยบายช่วยเหลือโอบรับผู้คนที่โยกย้ายถิ่นบานไม่ปกติเพื่อวางกลไกให้เขาสามารถอยู่ในสังคมอย่างยั่งยืน
ผู้ลี้ภัยไม่ถูกยอมรับและถูกมองว่าเป็นภัยความมั่นคง ขาดตัวตนในการเข้าถึงสวัสดิการสิทธิต่างๆ บุคคลไร้รัฐ เป็นสิ่งที่เราพยายามผลักดันโดยฝ่ายนิติบัญญัติ “ต้องสร้างตัวตนให้คนในประเทศนี้ เขาต้องได้รับการยอมรับในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง”
3 แนวทางข้อเสนอที่จะทำให้ผู้ลี้ภัยหลายคนมีดวงตาที่มองกลับมาได้ในโลกนี้ คือ
- ไม่ส่งกลับคนประหัตประหาร ไปเผชิญหน้ากับความตาย จากประเทศที่มีภัยความไม่สงบ
- ไม่ทำลายสิทธิพื้นฐานความเป็นมนุษย์ต่อผู้โยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติ
- แรงงานข้ามชาติต้องได้รับการเข้าถึงสิทธิต่างๆ ที่มีความหมาย ที่รัฐจำเป็นต้องให้ในฐานะคนทำงานและความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม
สุดท้ายมายาคติอนุรักษ์นิยม ชาตินิยม ที่มองคนต่างสัญชาติไม่ใช่คนเหมือนเรา คนที่เข้ามาเขาคือภัยความมั่นคง ไม่ควรส่งต่อในสังคมไทย เราไม่ควรมองคนโยกย้ายถิ่นฐานไม่ปกติเป็นภัยคุกคาม