วันแรงงานสากล (MAY DAY 2025)

วันแรงงานสากล (MAY DAY 2025)
วัน พฤหัสบดี ที่ 1 พฤษภาคม 25868

จัดโดยมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
ห้องประชุมชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรัลเพลส จังหวัดสมุทรสาคร


จำนวนคนลงทะเบียนเข้าร่วม 50 คน  แบ่งเป็น

  1. จำนวนแรงงานที่เข้าร่วม 40 คน ส่วนมากทำงานโรงงานและรับจ้างทั่วไป
  2. เจ้าหน้าที่ HRDF จำนวน  6 คน
  3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายศึกษา HRDF จำนวน 3 คน
  4. เจ้าหน้าที่ NGO ด้านประชากรข้ามชาติ จำนวน 1 คน

จำนวนคนเข้าร่วมที่ไม่ได้ลงทะเบียน ประมาณ 52 คน

  1. จำนวนอาสาสมัครด้านการศึกษาจำนวน 15 คน
  2. จำนวนเด็กและเยาวชน จำนวน 37 คน    

มูลนิธิฯได้จัดเวทีเสวนาวันแรงงานสากลประเด็น ความสำคัญกับวันแรงงาน สิทธิที่แรงงานข้ามชาติควรทราบ โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่

1.คุณคอรีเยาะ มานุแช   เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ

2.ว่าที่ ร.ต.วัชรวิชญ์ วุฒิพัชระพัชร์   นักกฎหมาย มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

3.คุณ Aye Mar Cho   ผู้ประสานงาน มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

3.คุณ KHIN NHINT SAN ล่ามผู้แปลภาษา

4.คุณรวีพร ดอกไม้ ผู้ดำเนินรายการเวที

ความสำคัญและความเป็นมาของวันแรงงาน โดยคุณคอรีเยาะ มานุแช

            ทุกวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันแรงงาน โดยมีจุดเริ่มต้นจากยุโรป เกิดขึ้นเนื่องจากการต่อสู้เรียกร้องจากกลุ่มแรงงาน เพื่อให้มีการตรากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิ และค่าแรงในขณะนั้น ซึ่งแรงงานกลุ่มแรกๆที่มีการเรียกร้องสิทธิคือ แรงงานเกษตร จากนั้นก็มีการวิวัฒนาการจากเกษตรก็เป็นโรงงาน ซึ่งได้มีการเรียกร้องครั้งใหญ่ที่ ชิคาโก้ อเมริกา ซึ่งประเทศไทยได้รับอทธิพลจากแนวคิดดังกล่าว ปัจจุบันวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ที่มีการเรียกร้องสิทธิในระดับโลก ใครคือแรงงาน แรงงานที่คนที่ทำงานทุกคนถือว่าเป็นแรงงาน มิใช่เพียงแค่ใช้กำลังทำงานเท่านั้น การเรียกร้องเพื่อให้มีสิทธิ เนื่องด้วยแรงงานเป็นผู้ที่มีกำลังขับเคลื่อนสำคัญ สิทธิที่แรงงานได้รับในปัจจุบันนั้นเกิดจากการเรียกร้องของแรงงานที่ผ่านมาทั้งสิ้น อดีตไม่มีกฎหมายทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ต่อมาได้มีการเรียกร้องให้ทำงาน 8 ชั่วโมง เพื่อให้แรงงานมีเวลาพักผ่อน และมีเวลาสำหรับในการพัฒนาตนเอง การเรียกร้องต้องอาศัยการรวมมือของแรงงานทุกคน เพื่อให้ผู้มีอำนาจในการต่อรอง การรวมกลุ่มจึงมีความสำคัญในการแก้กฎหมายและกำหนดนโยบายต่างๆ          เนื่องในวันแรงงาน อยากให้แรงงานทุกคนมีความกล้าหาญในการแก้ไขกฎหมาย หากกฎหมายไม่ดีพอก็อยากให้มีการแก้ไขกฎหมาย กฎหมายมีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองทุกคนอย่างเท่าเทียม มิได้มีไว้เพื่อกฎหมายคนที่ด้อยกว่า

ว่า ร.ต.วัชรวิชญ์ วุฒิพัชระพัชร์ นักกฎหมายมูลนิธิฯ พูดถึงจุดประสงค์การทำงานของมูลนิธิฯ

            มูลนิธิฯถูกจัดตั้งเพื่อช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ โดยมี 4 สาขา ได้แก่ สมุทรสาคร ตาก เชียงใหม่ และภูเก็ต และ 1 สำนักงานใหญ่ คือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งการทำงานมุ่งเน้นงานช่วยเหลือแรงงาน การลงพื้นที่ให้ความรู้ และจัดประชุมต่างๆในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ รวมทั้งโครงการด้านการศึกษา เพื่อให้ลูกหลานของแรงงานชาวเมียนมาได้เข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง

1.งานให้ความช่วยเหลือด้านคดี         

ตัวอย่างคดีที่ให้ความช่วยเหลือ เช่น คดีค้ามนุษย์ ไร่อ้อย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีผู้เสียหายทั้งสิ้น 14 ราย ซึ่งปัจจุบันศาลได้ยกฟ้องในคดีค้ามนุษย์ แต่ดำเนินคดีอาญาอื่นแทน และได้ยื่นฟ้องในคดีแรงงาน นายจ้างจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแก่ผู้เสียหาย 400,000 บาท ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างยื่นอุทธรณ์

คดีอุบัติเหตุจากการทำงาน นาย YK นามสมมติ ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานจนต้องตัดขา ซึ่งผู้เสียหายได้รับเงินทดแทนจากสำนักงานประกันสังคมจำนวน 560,000 บาท และได้รับขาเทียม

คดีอุบัติเหตุจราจร มีผู้เสียหายถูกรถชนเสียชีวิต ทายาทจึงได้มาเบิกเงินทดแทนเป็นเงินจำนวน 500,000 บาท

คดีเจ้าหน้าที่รัฐทำละเมิด ซึ่งผู้เสียได้ยื่นต่อใบอนุญาตทำงาน แต่เจ้าหน้าที่รัฐอ้างว่าไม่มีการดำเนินการจึงได้จับ ผู้เสียหาย น.ส. ป ป นามสมมติ ต่อมาทางมูลนิธิฯ จึงได้ยื่นดำเนินดีกับเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นต้น

      ในเดือนกันยายน 2565 ถึงเดือนสิงหาคม 2567 ได้ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติไปแล้วทั้งสิ้น 95 เคสได้รับเงินจำนวน 6,085,021 บาท

2.กิจกรรมลงพื้นที่ เพื่อเข้าถึงพื้นที่ชุมชนและให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิต่างๆของแรงงานข้ามชาติ ทั้งในจังหวัดสมุทรสาคร และต่างจังหวัด ในจังหวัดสมุทรสาคร ลงพื้นให้ความรู้ 2,000 คน ต่างจังหวัด 600 คน

3.กิจกรรมอบรมแกนนำนักกฎหมาย เพื่อให้แกนนำสามารถช่วยเหลือเพื่อนของตนและทำให้กลุ่มของตนมีความเข้มแข็งมากขึ้น

4.กิจกรรมการแข่งขัน E-Sport  ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความสามารถ การทำงานเป็นทีม

5.รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆกับองค์กรต่างประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน

6.งานด้านการศึกษา

ศูนย์ศึกษาสงเคราะห์วัดเทพนรรัตน์ ซึ่งได้มีการขอจดทะเบียนศูนย์กับพื้นที่เขตการศึกษา ปัจจุบันได้อยู่ระหว่างยื่นผลและรอดำเนินการพิจารณากับกระทรวงศึกษาธิการ

สรุปกิจกรรมถาม-ตอบจากวงเสวนา

1.ประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ ประเด็นที่มีการเรียกร้องให้แรงงานทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน ซึ่งมีผู้ที่ทำงาน 6 วัน และทำงาน 5 วัน โดยมีงานวิจัยว่า การทำงาน 5 วันจะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น เนื่องด้วยมีแรงจูงใจในการทำงาน เพื่อจะนำเวลาพักไปทำอย่างอื่นมากขึ้น สาระสำคัญคือ มีความชัดเจนในสิ่งที่ต้องการ โดยสอดคล้องกับพื้นที่ ซึ่งมีวิธีที่จะหาแนวทางร่วมกันได้ โดยมิต้องประท้วง เช่น การรวมกลุ่ม แม้ในปัจจุบันแรงงานข้ามชาติจะไม่สามารถก่อตั้งสหภาพแรงงานได้ แต่มิได้ปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมสหภาพแรงงาน ตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาสิทธิต่างๆเกิดจากการต่อสู้เรียกร้องจากกลุ่มแรงงาน

2.สิทธิประกันสังคมของแรงงาน ปัจจุบันได้มีการเลือกตั้งบอร์ดบริหารของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งประกันสังคมในประเทศไทยมีสมาชิกประกันสังคม 1 ล้าน คนจาก 3 ล้านคน ซึ่งอีก 2 ล้านคนยังไม่มีสิทธิประกันสังคม และไปอยู่ตรงไหน?

3.แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย การศึกษามีความจำเป็นอย่างมาก ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความต้องการให้ลูกหลานของตน ได้รับการศึกษาตามวัย เพื่อเป็นหนทางในการเพิ่มโอกาสให้ลูกหลาน ทั้งเด็กที่อายุยังไม่ถึง 18 ปีไม่สามารถทำงานได้ โดยต้องการให้ลูกหลานห่างไกลจากการใช้แรงงานเด็ก ต้องการให้มีการทำงาน 5 วัน เพราะจะมีเวลาในการทำสิ่งต่างๆเพื่อพัฒนาตนเอง ทำงานบ้าน หรือกิจกรรมต่างๆกับครอบครัว

4.ปัจจุบันเงินทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรเพิ่มเป็น 1,000 บาท ซึ่งนโยบายนี้มาจากการรวมกลุ่มเรียกร้องของบอร์ดประกันสังคม ที่ได้มีการเลือกคณะกรรมการเข้าไปในการบริหารงาน

5.ในประเทศไทยแม้จะเป็นลูกหลานของแรงงานข้ามชาติ สามารถแจ้งเกิดลูกในประเทศไทยได้ หากมีเอกสารก็ยังสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนไทยได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในด้านการศึกษากับลูกหลานของแรงงานข้ามชาติ

6.ปัจจุบันแรงงานข้ามชาติยังไม่ได้มีการต่อ VISA มีแต่เพียงการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติเพียงเท่านั้น

ข้อเสนอแนะจากเด็กๆ ศูนย์ศึกษาสงเคราะห์ วัดเทพนรรัตน์

1.ต้องการที่จะให้มีการจัดการแข่งขันกีฬา และการแข่งขัน E-Sport ในปีถัดไป

2.ต้องการศึกษาให้สูงขึ้น และมีการจัดกิจกรรมเพื่อแสดงความสามารถ ทั้งในด้านกีฬาและวิชาการ

3.เชื่อว่าศูนย์ศึกษาสงเคราะห์ เป็นสถานที่ปลอดภัย ทั้งยังเชื่อว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาศด้านการศึกษาต่อไปในอนาคต

คุณคอริเยาะ มานุแช เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวข้อคิดก่อนปิดเวทีไว้ว่า ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป นักเรียนซึ่งในอนาคต หากต้องมีการทำงาน ข้อท้าทายเกี่ยวกับแรงงานก็จะมีการเปลี่ยนตามกาลเวลา ซึ่งหากมีการรวมกลุ่มจะทำให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้น แรงงานทุกคนมีอำนาจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ”