News Archive

ใบแจ้งข่าว ศาลจังหวัดกำแพงเพชร พิพากษาคดีด.ญ.แอร์ ผู้เสียหายจากการถูกนายจ้างทรมานและ กระทำอย่างทารุณโหดร้าย ได้รับค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด จำนวน 4,603,233 บาท

ตามที่มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการัพฒนา (มสพ.) ได้ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ด.ญ.แอร์ ชาวกะเหรี่ยง ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการถูกนายจ้างทารุณกรรมและใช้แรงงานเยี่ยงทาสนั้น เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2557 เวลาประมาณ 14.00 น.  ศาลจังหวัดจังหวัดกำแพงเพชร ได้อ่านคำพิพากษาในคดีที่นางโม วาเตง ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงแอร์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายนที แตงอ่อน และนางสาวรัตนากร ปิยะวรธรรม นายจ้าง เป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการทำร้ายร่างกายเด็กหญิงแอร์ ขณะที่ทำงานรับใช้ในบ้านของนายจ้างทั้งสอง โดยศาลได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ ส่วนที่ 1.ค่าเสียหายที่สามารถคำนวนเป็นจำนวนเงินได้ ตามมาตรา  444 ประมวลกฎหมายแพ่งเเละพาณิชย์ เป็นค่าชดใช้อันต้องสูญเสียไปและค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้งเชิงตามแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตโดยศาลพิจารณาเเล้วจะกำหนดให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งความร้ายแรงตามกรณี ประกอบด้วย 1.ค่ารักษาพยาบาล จำนวน 303,233 บาทตามรายละเอียดใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลรามาธิบดี 2. ค่ารักษาพยาบาลในอนาคต 800,000 บาท 3. ค่าเสียหายที่จะต้องสูญเสียความสามารถในการประกอบอาชีพไม่น้อยกว่า 50 ปี เป็นเงิน 1,000,000 บาท ส่วนที่ 2. ค่าเสียหายที่ไม่อาจคิดคำนวนเป็นจำนวนเงินได้
Read More

แถลงการณ์ รัฐบาลไทยต้องมีเจตจำนงอย่างแน่วแน่ ในการปราบปรามการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล

ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยนายจอห์น แคร์รี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เผยแพร่รายงานประจำปี เรื่อง สถานการณ์การค้ามนุษย์​ ปี 2557 (Trafficking in Person Report 2014 หรือ Tip report) เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 (เวลาประเทศไทย) ที่ผ่านมา โดยในปีนี้ ประเทศไทยถูกลดอันดับจากประเทศที่อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2 อันเป็นกลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองลงมาอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์การค้ามนุษย์ที่เลวร้ายที่สุด    ในรายงานฉบับดังกล่าวเเสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์เเละเสนอข้อแนะนำบางประการให้ประเทศไทยพิจารณาเเละทบทวนเพื่อยกระดับการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ใน 3 ประเด็น ได้แก่
Read More

แถลงการณ์ด่วน เรียกร้องคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทบทวนมาตรการจัดการระเบียบแรงงานข้ามชาติ ป้องกันผลกระทบด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของมนุษย์

ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ทำการยึดอำนาจการปกครอง มาตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาเกือบหนึ่งเดือนแล้วที่ คสช.ได้ออกประกาศ-คำสั่ง จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2557 จำนวน 68 ฉบับ โดยมีคำสั่งที่ 59/2557 และ60/2557 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2557 เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติ โดยมีตัวแทนด้านความมั่นคงและข้าราชการพลเรือนร่วมเป็นคณะกรรมการและคณะกรรมการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จากการติดตามสถานการณ์ของเครือข่ายประชากรข้ามชาติ และองค์กรแนบท้าย พบว่า ก่อนคสช.จะได้ออกคำสั่งเลขที่ 59/2557 และ 60/2557 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2557 หน่วยงานด้านความมั่นคงและเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในนามกองอำนวยการรักษาความมั่นคงจังหวัด (กอ.รมน.จว.) บางพื้นที่ได้ให้ข้อมูลผ่านสื่อมวลชนว่าได้ดำเนินการที่เรียกว่าจัดระเบียบแรงงานต่างด้วยโดยใช้กำลังปิดล้อม ตรวจค้นบ้านที่ต้องสงสัยว่าอาจจะมีแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและควบคุมแรงงานข้ามชาติไว้เป็นจำนวนมาก จากข้อมูลที่ได้รับพบว่ามีกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ถูกควบคุมตัวหลายกลุ่ม เช่น แรงงานไม่มีเอกสารเดินทางเข้าเมืองแบบถูกกฎหมายและไม่มีใบอนุญาตให้ทำงาน บางรายมีหนังสือเดินทางแต่ใบอนุญาตทำงานไม่สอดคล้องกับพื้นที่ทำงานกับพื้นที่ที่่มีการพบและควบคุมตัวแรงงาน บางกรณีเป็นแรงงานที่มีหนังสือเดินทางและใบอนุญาตทำงานครบสี่ปี มีการดำเนินการรื้อถอนบ้านในชุมชนที่ต้องสงสัยว่ามีแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมายพักอาศัยอยู่ และบางกรณีได้มีการดำเนินการที่มีแนวโน้มจะละเมิดต่อมาตรการการคุ้มครองเด็กตามกฎหมายคุ้มครองของไทย และตามอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก ซึ่งจากกระแสข่าวเรื่องจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวดังกล่าว ทำให้แรงงานข้ามชาติมีความหวาดกลัวและมีความเสี่ยงว่าจะถูกจับกุม จึงทยอยเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไทยเป็นจำนวนหลายแสนคน ซึ่งย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชาติ เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาภาวะการขาดแคลนแรงงานในภาคผลิตทั้งอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการขาดแคลนแรงงาน โดยให้รัฐบาลมีนโยบายจดทะเบียนแรงงานเพื่อให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ประเทศเมียนมาร์
Read More

แถลงการณ์ต่อกรณีการควบคุมตัวชาวมุสลิมไม่ปรากฏสัญชาติจำนวนกว่า 200 คน

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่า เมื่อวันที่ 13  มีนาคม 2557 เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ภาค 6 จังหวัดสงขลา ได้เข้าควบคุมตัวชาวมุสลิม ไม่ปรากฏสัญชาติ จำนวน 213 คน ซึ่งหลบพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าสวนยาง จังหวัดสงขลา จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการคัดแยกกลุ่มบุคคลดังกล่าวแล้ว พบว่า มีผู้หญิง  60คน ผู้ชาย 73 คน และเด็ก  80 คนและข้อมูลจากไทยโพสต์ออนไลน์ วันที่  14 มีนาคม 2557 รายงานว่า มีเจ้าหน้าที่จากสถานฑูตตุรกีได้ลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ากลุ่มคนดังกล่าวจะเป็นชาวตุรกีหรือไม่  อีกทั้งยังมีข้อสันนิษฐานว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวอาจหนีภัยประหัตประหาร และต้องการคุ้มครองหรือสถานะผู้ลี้ภัย ปัจจุบันผู้ถูกควบคุมตัวทั้งหมดอยู่ในการดูแลของเจ้าหน้าที่ไทย จากข้อมูลดังกล่าวทางเครือข่ายประชากรข้ามชาติ ขอแสดงความชื่นชมเจ้าหน้าที่จากหน่วยต่างๆ ของรัฐไทยในการเข้าให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่กลุ่มสตรีและเด็กการให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น  รวมทั้งการเอื้ออำนวยให้ประชาชนและองค์กรการกุศลเข้าให้ความช่วยเหลือ  แต่อย่างไรก็ตาม ทางเครือข่ายฯและองค์กรท้ายแถลงการณ์นี้ ยังมีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อสถานการณ์การเข้ามาของชาวมุสลิมกลุ่มดังกล่าว และขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไทยพิจารณาต่อข้อเสนอดังต่อไปนี้ 1.ขอให้รัฐบาลไทยสนับสนุนให้
Read More

เครือข่ายประชากรข้ามชาติ ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล ต่อแนวทางแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติ ซึ่งครบกำหนดวาระการจ้างงาน 4 ปี

จดหมายเปิดผนึก                                                      วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 เรื่อง ข้อเสนอเครือข่ายประชากรข้ามชาติ ต่อแนวทางแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติซึ่งครบกำหนดวาระการจ้างงาน 4 ปี เรียน ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี สำเนาถึง 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน 2.อธิบดีกรมจัดหางาน 3.เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ 4. ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 5. ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 6.ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย 7. ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ   อ้างถึง หนังสือ กรมการจัดหางาน เลขที่ รง 0307/4936  ลงวันที่ 11  กุมภาพันธ์ 2557 ตามที่กรมการจัดหางาน ออกหนังสือด่วน เลขที่ รง 0307/4936  ลงวันที่ 11  กุมภาพันธ์ 2557 เรื่อง การดำเนินการกับแรงงานเมียนมาที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติซึ่งจะครบกำหนดวาระการจ้างงาน 4 ปี ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักจัดหางานกรุงเทพ เขตพื้นที่ ๑
Read More