ใบแจ้งข่าว: แรงงานผู้ประกันตน ยื่นฟ้อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงานและปลัดกระทรวงแรงงาน กรณีไม่เร่งดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม และให้เพิกถอนกฎและระเบียบ ที่มีการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ

1683601556659

 

 

2 พฤษภาคม 2566     

ใบแจ้งข่าว

แรงงานผู้ประกันตน ยื่นฟ้อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงานและปลัดกระทรวงแรงงาน

กรณีไม่เร่งดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม และให้เพิกถอนกฎและระเบียบ

ที่มีการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ

 

 

วันนี้ (2 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00) ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ธนพร วิจันรท์ พร้อมผู้แทนผู้ประกันตน ทั้งแรงงานสัญชาติไทยและสัญชาติอื่น จำนวน 6 คน ได้ยื่นฟ้อง กระทรวงแรงงาน เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามคน ดำเนินการจัดการเลือกตั้งเพื่อให้มีผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) เป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม ขอให้มีการเพิกถอนระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ.2564 ที่กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีสัญชาติไทย และผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคมต้องมีสัญชาติไทย

ที่มาของคดีนี้ สืบเนื่องจาก

  1. ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2558 ลงประกาศ พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 มาตรา 8 กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการประกันสังคม” ประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ กับตัวแทนฝ่ายนายจ้างและตัวแทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละ 7 คน โดยให้ผู้แทนของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน ต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้กันตน สัดส่วนระหว่างหญิงและชาย รวมทั้งการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิผลของคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
  2. ต่อมาได้มีราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 ประกาศ ระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ.2564 ซึ่งบทบัญญัติของระเบียบฯ ส่วนหนึ่งได้

กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปัจจุบัน เป็นระยะเวลาเกือบสองปีแล้วนับแต่มีการประกาศบังคับใช้ระเบียบฯ ที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม มิได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม จงใจปล่อยปละละเลย หรืองดเว้นกระทำการตามหน้าที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งหกได้รับความเสียหายและยังขัดต่อหลักการขององค์การระหว่างประเทศ (ILO) ที่กำหนดหลักการในการส่งเสริมแรงงานให้มีระบบไตรภาคี โดยจุดมุ่งหมายให้ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง และรัฐบาล เข้ามีส่วนร่วมในการเจรจาทางสังคม เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย อันจะทำให้การบริหารแรงงานมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองสภาพเศรษฐกิจและสังคมเพื่อความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

 

กำหนดคุณสมบัติมีสิทธิเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม ต้องมีสัญชาติไทยนั้น ย่อมไม่สอดคล้องกับคำนิยามคำว่า “ผู้ประกันตน” ที่หมายความว่า ผู้ซึ่งจ่ายเงินสมทบอันก่อให้เกิดสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ซึ่งปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมมีลูกจ้างที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนทั้งชาวไทยและต่างชาติรวมกัน จำนวน 24,386,011 คน ดังนั้น การกำหนดคุณสมบัติของผู้ประกันตนดังกล่าว ย่อมเป็นการกีดกันและเลือกปฏิบัติต่อผู้ประกันตนที่ลูกจ้างต่างชาติและเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 27 และหลักกติการะหว่างประเทศ อาทิ อนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หรือ International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (CESCR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)

นางสาวจิรารัตน์ มูลศิริ  ทนายความมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา เห็นว่า การมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองในครั้งนี้ นับเป็นการใช้สิทธิการเข้าถึงกลไกของฝ่ายตุลาการเป็นหน่วยงานสุดท้าย จึงขอเรียกร้องให้ ศาลปกครอง ที่มีอำนาจอิสระ ตามแบบแม่บทประชาธิปไตย ในการพิจารณาและมีคำพิพากษาออกคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเร่งดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้ง พร้อมทั้งให้มีการเพิกถอนกฎและระเบียบที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้ประกันตนและชัดต่อหลักกการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ.2560 กฎหมายปกครอง และกฎหมายสิทธิมนุษยชนมนุษยชนระหว่างประเทศ เพื่อให้สร้างบรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) ที่ให้มีการเคารพหลักกฎหมายและสิทธิมนุษยชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ

——————————————————————————————————-

รายละเอียดเพิ่มเติม

คอรีเยาะ มานุแช เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ 091 838 6265

จิรารัตน์ มูลศิริ ทนายความ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา 089 273 4711