สรุปทิศทางประมงไทย ในบริบทการค้าระหว่างประเทศ : ข้อพิจารณาเรื่องสิทธิแรงงาน สิ่งแวดล้อม และมาตรฐานตลาดการค้าอาหารทะเล”

18 ม.ค. 67 เวลา 10.00-12.30 น. ที่ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) เครือข่ายภาคประชาสังคม ประกอบด้วย มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (EJF) เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) และ Solidarity Center (SC) ได้จัดงานแถลงข่าวและเสวนาสรุปทิศทางประมงไทย ในบริบทการค้าระหว่างประเทศ : ข้อพิจารณาเรื่องสิทธิแรงงาน สิ่งแวดล้อม และมาตรฐานตลาดการค้าอาหารทะเล เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกฎหมายและความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนติดตามสถานการณ์กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานประมงและข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA)ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย โดยมีตัวแทนเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน นักวิชาการ ภาคธุรกิจ และผู้ที่สนใจเข้าร่วม

ผอ.EJF หวั่น ‘รัฐบาลเศรษฐา’ แก้ กม.ประมงทำสิทธิมนุษยชนถอยหลัง กระทบส่งออก  1.72 แสนล้านบาท

ดอมินิก ทอมสัน ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม(EJF) กล่าวถึงสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านการบริหารจัดการประมงไทย ภายใต้รัฐบาลนำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งภาคประชาชาสังคมมีข้อกังวลและข้อเสนอแนะในประเด็นนี้ว่า หลังจากหลายปีที่ประเทศไทยได้สร้างความอื้อฉาวในระดับนานาชาติในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน แรงงานบังคับ (Forced Labour) และแรงงานเด็ก (child labor) ก็มีการปฏิรูประบบอุตสาหกรรมประมง และได้ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านการทำประมงและส่งออกอาหารทะเลที่ยั่งยืน ถูกกฎหมาย และเป็นธรรม มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในขณะนี้ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางและแนวทางจัดการอุตสาหกรรมประมงที่ถอยหลังกลับ ซึ่งจะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสิทธิมนุษยชนและชื่อเสียงของประเทศไทยต่อประชาคมโลก และจะสร้างผลกระทบต่อความพยายามของรัฐบาลใหม่ในการดึงดูดการลงทุนระหว่างประเทศใหม่

ดอมินิก กล่าวต่อว่า การผ่อนปรนมาตรการทางกฎหมายอาจเป็นตัวทำลายมาตรการทางการประมงและการส่งออกอาหารทะเลในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งตัวเลขประมาณการส่งออก ปี พ.ศ. 2564 มีมูลค่า 1.72 แสนล้านบาท การย้อนกลับไปดูพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทยในเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับของอาหารทะเลจะทำให้ประเทศผู้ซื้ออาหารทะเลจำนวนมากอาจทบทวนการจัดซื้ออาหารทะเลจากประเทศไทยต่อไป                แนวทางการรับมือนั้นจะต้องมีความชัดเจน มีความโปร่งใส แนวทางการปฏิบัติควรได้รับการพัฒนามากกว่าการผ่อนปรน สิ่งนี้จะทำให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลในประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง ที่แรงงานสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย และมีส่วนช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไปที่เข้ามาในอุตสาหกรรมนี้

“ประชากรของปลามีจำนวนน้อยลงมากในปัจจุบัน การลดต้นทุนในการทำอุตสาหกรรมประมงที่ทำได้ตอนนี้ คือ การลดต้นทุนด้านแรงงาน ซึ่งจะเสี่ยงต่อเรื่องการค้ามนุษย์ การใช้งานแรงงานเยี่ยงทาส วงจรการจับปลากำลังไปสู่จุดจบของอุตสาหกรรมมากเรื่อยๆ บริบทไทยก่อน ปี 2015 เราไม่รู้มีเรือเท่าไหร่ มีเครื่องหมายประจำเรืออย่างไรบ้าง ไม่มีการถ่วงสมดุล การล่วงล้ำจับปลา กฎหมายประมงออกแบบมานานแล้ว และไม่มีการลงโทษที่เหมาะสม การโอนย้ายเราไม่รู้เลย ไม่มีใครตรวจสอบถ่วงดุลได้ การตรวจสอบท่าเรือไม่สามารถททำได้เพียงพอ ไม่สัญญาณเตือน ผลคือจำนวนปลาลดลงอย่างมาก” ดอมินิก กล่าว

ฮิวแมนไรท์วอทช์ฯ’กังวล หากคลายกฎทำประมงจะเปิดประตูค้ามนุษย์

ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผอ.ฮิวแมนไรท์วอทช์ ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า หากรัฐบาลไทยมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบข้อบังคับในการทำประมง คนที่เสียประโยชน์คือลูกเรือ โดยเฉพาะการแก้ไขในเรื่องระบบติดตามตรวจสอบเรือ เป็นระบบใหม่ที่ให้ออกเรือนานมากกว่า 30 วัน มีเรือแ     ฟม่ออกไปรับปลาและเปลี่ยนถ่ายลูกเรือกลางทะเลได้ ซึ่งจะเป็นการเปิดประตูให้มีการค้ามนุษย์เกิดขึ้น และที่สำคัญจะทำให้เกิดการทำประมงที่ผิดกฎหมายเกิดขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าสมาคมประมงเป็นเด็กดื้อ ไม่ค่อยเชื่อฟังกฎหมายและไม่เชื่อฟังรัฐบาล คิดว่าอยู่ในทะเลจะทำอย่างไรก็ได้ตามความพอใจ จึงเห็นว่าไม่เหมาะที่จะให้สมาคมประมงกำหนดว่าอะไรเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยควรทำหรือไม่ควรทำ แนวโน้มคือเขาพยายามเสนอให้รัฐบาลชุดนี้เปิดเสรีอุตสาหกรรมประมง ยกเลิกการปกป้องสิทธิของลูกเรือ ซึ่งจะสร้างปัญหาเรื่องการทำประมงผิดกฎหมายตามมา ที่ผ่านมาสมาคมประมงไม่เคยยอมรับการปฏิรูปและไม่ยอมรับว่ามีการค้ามนุษย์เกิดขึ้นจริง ประเด็นเหล่านี้จะเป็นเรื่องที่ทำลายความสามารถของรัฐบาลไทยและเศรษฐกิจไทยในการส่งอาหารทะเลออกไปข้างนอก  เพราะหากยกเลิกกฎระเบียบต่างๆ ในการปกป้องลูกเรือก็จะมีปฏิกิริยาจากต่างประเทศว่ารัฐบาลไทย เรือประมงไทย กลับมาใช้แรงงานการค้ามนุษย์แล้ว” ฟิลกล่าว

ประมงพื้นบ้านฯ ย้ำ’ถ้าจะแก้ กม. ต้องสร้างความเท่าเทียมการเข้าถึงทรัพยากร -ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ -ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นหลัง

ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมากลุ่มประมงพื้นบ้านไม่มีตัวตน และกำลังจะถูกลดความสำคัญอย่างน่าตกใจ  พูดไม่ได้พูดจากความรู้สึกหรือความนึกคิดของตนคนเดียว แต่เป็นการรวบรวมความคิดเห็นของสมัชชา 66 องค์กรที่เป็นเครือข่ายประมงพื้นบ้านในนามสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เราได้สัมผัสในทุกเวทีการยกร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประมง พ.ศ. 2558  ที่จะเป็นกฎหมายฉบับใหม่ โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองทั้งหมด 6 พรรคเขียนร่างกฎหมายขึ้นมา โดยร่าง พ.ร.บ.ของพรรคเพื่อไทยได้เป็นฉบับเปรียบเทียบกับ พ.ร.ก. การประมง พ.ศ.2558 และฉบับแก้ไข 2560 ถ้าเราไปดูจุดมุ่งหมาย พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 ในมาตรา 4 (2) ได้ให้ความสำคัญกับประมงพื้นบ้าน หมายถึงพยายามที่จะสนับสนุนการประมงพื้นบ้าน องค์กรประมงท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนและยกความสำคัญของประมงพื้นบ้าน  แต่พอเราไปดูร่าง พ.ร.บ.ของพรรคการเมืองทั้ง 6 พรรค โดยเฉพาะฉบับของพรรคเพื่อไทยเรากลับเห็นว่าในมาตรา 4 (2) มีการขีดทิ้ง แล้วพยายามที่จะไปส่งเสริมการประมงทุกประเภทที่ถูกกฎหมายทุกวิถีทางทุกรูปแบบ ซึ่งการซ่อนคำแบบนี้ไว้นั้นน่าตกใจ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าประมงพื้นบ้านกำลังจะไม่มีตัวตนในร่าง พ.ร.บ.ทุกฉบับที่กำลังจะแก้

“ประมงพื้นบ้านกำลังจะหมดตัวตน ความน่าเจ็บปวดของ พ.ร.ก.การประมง 2558 …แต่วันนี้คณะกรรมการนโยบายเรื่องสัตว์น้ำในทะเลออกมาแบ่งให้ใช้ระบบสัดส่วนประมงโควต้า ปรากฎว่าประเทศไทยมีเรืออยู่ 60,000 ลำ เป็นประมงพานิชย์ 10,000 ลำ ได้สัดส่วนไป 80% ถ้าตามบันทึกในแต่ละปีได้ 1.2 ล้านตัน เรือประมงพื้นบ้านมีอยู่ 50,000 ลำ ได้สัดส่วนการจัดสัตว์น้ำ โควต้า 20%         คิดเป็นสัดส่วนได้แค่ 2.8 ล้านตัน..นี่คือความจนจากการบริหารที่ยังไม่ทั่วถึง”

ปิยะ กล่าวต่อว่า วันนี้ถ้าจะแก้กฎหมายต้องเน้น 4 เรื่อง 1.ทะเลคือพื้นที่สาธารณะ ต้องสร้างความตระหนักว่าใครก็ตามที่ใช้พื้นที่สาธารณะประกอบอาชีพต้องผ่านกฎกติกาที่เป็นธรรมและเท่าเทียม 2.สร้างกติกากฎหมายที่เปิดโอกาสให้คนทุกคนทุกกลุ่มมีความเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เรื่องแรงงานต่างชาติ 3.ความมั่นคงทางอาหารต้องมีในกฎหมาย ต้องมองว่าประมงไม่ใช่แค่อาชีพ วันนี้ทะเลทั่วโลกมันคือทะเลเดียวกันทั้งโลก เป็นแหล่งโปรตีนที่ใหญ่ที่สุด สะอาดที่สุด 4.ส่งต่อความยั่งยืนให้คนรุ่นหลัง            การรักษาสัตว์น้ำ การรักษาแหล่งธรรมชาติให้รุ่นลูกรุ่นหลาน

“วิถีของประมงพื้นบ้านและพาณิชย์มันมีวิถีเดียวกันคือการจับสัตว์น้ำเพื่อเอาไปชาย แต่วิธีการจับมันไม่เหมือนกัน ความยั่งยืนคือการต้องไม่ทำลายพื้นที่อาศัยของสัตว์น้ำ เช่น กัลปังหา ปะการังเทียม ฯลฯ และต้องไม่ทำลายระบบพึ่งพาสัตว์น้ำ สัตว์ตัวใหญ่กินสัตว์น้ำตัวเล็ก สัตว์น้ำตัวเล็กกินแพลงตอน มันต้องเป็นระบบห่วงโซ่ เราต้องไม่ทำลายความยั่งยืนความมั่นคงอาหาร” ปิยะ กล่าว

นายกสมาคมฯทูน่าไทย ชี้’ประมงไทยไม่ยั่งยืนเพราะ “สกปรก -เสี่ยงสูง-งานยาก/งานหนัก”       ถ้ารัฐไม่ส่งเสริมทุกส่วนจะถูกกีดกันทางการค้าโลก

ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย  กล่าวถึงผลกระทบของการทำประมง         ที่ไม่ยั่งยืนและละเมิดสิทธิแรงงานประมงในอดีตว่า ปัญหานี้ได้สร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศ              เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ ไม่มีระบบการจ้างงานและสภาพแวดล้อม          การทำงานที่ดี ไม่มีสวัสดิการขั้นพื้นฐานรองรับ ทั้งนี้การทำประมงที่ไม่ยั่งยืน ส่งผลทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง ไม่เพียงพอต่อการบริโภค อีกทั้งประชาชนเข้าถึงสัตว์น้ำคุณภาพได้ยากขึ้น เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยแรงงานเห็นว่าเป็นงานด้านประมงเป็นงาน 3D  คือ งานสกปรก (Dirty) งานเสี่ยงสูงหรืออันตราย (Danger) และงานยากหรืองานหนัก (Difficult) และเสี่ยงต่อแรงงานบังคับ ค้ามนุษย์  ทั้งนี้ภาครัฐ หลายหน่วยงาน         ต้องออกมาตรการทุ่มเททรัพยากรกำลังคนและระดมค่าใช้จ่ายเพื่อแก้ไขสถานการณ์เหล่านี้

“มีบางอย่างไม่เป็นธรรมจริงๆ ผมเชื่อว่าการแก้กฎหมายไม่ได้จะกลับไปก่อนปี 2015 เพราะโรงงานต่างๆและเรือปรับปรุงไปไกลแล้ว ดังนั้น การถอยหลังเป็นไปไม่ได้ เพราะอุตสาหกรรมเขาก็อยู่ไม่ได้   ถ้าทำผิดกฎหมาย หลักสากล ก็ไม่มีคนซื้อ ประมงพาณิชย์ โดนกดมานานแล้ว ประมงพาณิชย์         ควรได้รับการดูแลปรับปรุง ตลาดเรามี เราเปลี่ยนแปลงเรือขนไทย capacity building ขอให้มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน จัดประชุมผู้ได้เสียทุกส่วน หาจุดร่วมที่ดีที่สุด เรายังมีศักยภาพ       ที่จะ TOP 3 ในงานประมงที่ดูแลสิ่งแวดล้อม และปกป้องสิทธิแรงงาน” ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์

ดร.ชนินทร์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับคู่ค้าสำคัญ อาทิ EU ที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการเจรจาปัจจุบันไม่ได้หารือประเด็นการลดภาษีอย่างเดียว ยังมีประเด็น เช่น แรงงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะกลายเป็นข้อกีดกันทางการค้า หากไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนดไว้ ดังนั้นอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัว และปฏิบัติตามกฎระเบียบสากล  อย่างไรก็ตามในเรื่องการผ่อนคลายมาตรการทำประมง เช่น การห้ามขนถ่ายสัตว์น้ำและลูกเรือกลางทะเล  เรื่องแรงงานอายุขั้นต่ำ 18 ปี  หรือการปรับปรุงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต้องพิจารณาให้รอบด้าน เพราะอาจส่งผลให้เกิดความไม่โปร่งใสในการทำประมง      อาจมีการทำประมง IUU รวมถึงการค้ามนุษย์บนเรือประมง ที่จะส่งผลกระทบในการเจรจาทางการค้าและ     การปฏิบัติตามกฎระเบียบคู่ค้า โดยเฉพาะEU และสหรัฐอเมริกา หากเป็นเช่นนี้ไทยก็ไม่สามารถส่งสินค้าประมงไปยังกลุ่มประเทศที่มีความกังวลในเหล่านี้ได้ รวมถึงต้องคำนึงในเรื่องการทำตามอนุสัญญาฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง ปี 2007 ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่ไทยได้รับไว้เมื่อปี 2562 ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมประเทศ และความสามารถในการแข่งขันของไทยในฐานะผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อส่งออกสำคัญของโลก

ปลอดประสพ โต้ ‘ประเทศไทยไร้แรงงานบังคับ’ นายกสมาคมประมงฯ ยัน กม.ตั้งแต่       ม.44 ต้องปฏิรูปเพื่อให้สินค้าประมงไทยตีขึ้นในตลาดโลก

ปลอดประสพ สุรัสวดี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่าประเด็นกังวลจากภาคประชาสังคม ที่พูดถึงว่า           การแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้จะทำให้สถานการณ์แย่ลง ตนมองว่าไม่มีทางที่จะแย่ลงและต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น กฎหมายที่ออกในช่วงรัฐบาลคณะรักษาความสงบในประเทศไทย (คสช.) เป็นกฎหมายที่ไม่ได้มีการฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน มีลักษณะเป็นเผด็จการ กฎหมายฉบับนี้สร้างผลกระทบต่อประมงพาณิชย์           อย่างมาก การที่ภาคประชาสังคมตั้งธงว่าจะถอยหลัง การยกประเด็นเรื่องเรือประมงนอกน่านน้ำ การขนถ่ายทางทะลนั้น ไม่สามารถทำได้มา 6-7 ปีแล้วในประเทศไทย บริบทสถานการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนจากอดีตไปอย่างมากจึงมองว่าควรที่จะนำบทเรียนเดิมมาเรียนรู้และแก้ปัญหาให้ประมงพาณิชย์สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่เสียดุลการค้าระหว่างประเทศอย่างทุกวันนี้ ในส่วนเรื่องของแรงงานนั้นมองว่าการแก้กฎหมายที่จะเกิดขึ้นในส่วนที่ดีพัฒนาขึ้นด้านแรงงานไม่ได้ไปแตะต้อง แต่จะเป็นเรื่องของกฎหมายที่สร้างข้อจำกัดเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมให้ประมงพาณิชย์ปลดล็อคบางเรื่องพัฒนาอุตสาหกรรมประมงให้กลับมาส่งออกอันดับต้นต้นของโลก

“กฎหมายอะไรก็ตามที่เกิดจากช่วงเผด็จการที่ใช้ ม.44 เราจะต้องนำกลับมาทบทวนทั้งหมดทุกอันไม่มียกเว้นเพราะเราเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่เรากำลังปรับปรุงขณะนี้คือการ Reform เราไม่ได้กลับหลังเราจะเดินไปข้างหน้าที่ดีกว่าเดิม… Forced Labour ไม่มีในประเทศไทย ทาสเราหมดไปตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ก่อนการเลิกทาสในอเมริกาอีก แต่มีคนทำผิดจริงต้องเอามันมาลงโทษ เพราะคนไม่ใช่สัตว์…” ปลอดประสพ กล่าว

มงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอบคุณทางหน่วยงาน         ที่จัดโอกาสที่ดีที่มีสมาคมฯ มาชี้แจง ประเด็นที่ห่วงใยคือสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา สมาคมฯไม่มีโอกาสสื่อสาร หลายครั้งมองว่าองค์กรต่างประเทศนั้นได้ข้อมูลด้านเดียวทำให้เกิดปัญหาทัศนคติที่เป็นลบในอาชีพประมงไทย ทางสมาคมฯ เสนอการแก้กฎหมายประมง เพราะมองว่าเราในฐานะชาวประมงถูกรัฐบาล           ยึดอำนาจ คสช. และใช้อำนาจเผด็จจการแก้กำหมายประมง ในขณะนี้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง               มีความหวังว่าผลกระทบจาก 7-8 ปีที่ผ่านมาจะต้องได้รับการแก้ไข ประมงในประเทศไทยเสียดุลการค้าจากการนำเข้าสินค้าประมงที่มีสัดส่วนพอกับการส่งออก เราต้องเร่งแก้ทั้งเรื่องค่าปรับ การบังคับใช้กฎหมายจากการออกกฎหมายในช่วง ม.44 ที่ทำให้ประมงพาณิชย์ไม่สามารถส่งเสริมการดำเนินธุรกิจประมงได้ดีขึ้น โดยเฉพาะปัญหาประมงที่สำคัญคือความเข้มงวดของกฎหมายและการเปรียบเทียบปรับ การขนถ่ายสินค้าทางทะเล

“ท่านกังวลว่าจะกังวลเรื่องแรงงาน เราไม่ได้แตะอะไรเลย สิ่งที่เราแตะเราอยากได้แรงงานถูกกฎหมายโดยง่าย ต้นทางของมัน คือ ราชการกำหนดเงื่อนไข ทำให้ได้แรงงานมาทำงานประมงที่ยุ่งยาก          เราพยายามทำให้แรงงานประกอบอาชีพได้ง่าย ค่าจ้างจ่ายผ่านบัญชี และเงินสด เราใช้ได้หมด ท่านไปถามแรงงานจริงๆก่อนว่าเขาต้องการอะไร เรามีวิธีการที่จะแก้ไขให้ท่านเชื่อมั่นได้ NGOs ทำงานกับสมาคมฯได้ เราทำงานเปิดเผย โปร่งใส เราไม่ได้หลบเลื่องที่จะแก้ปัญหา” มงคล กล่าว

“สิ่งที่รัฐบาลในอดีตทำคือทำลายอาชีพประมงที่ถูกกฎหมาย กม.ประมงถูกยึดให้ทำประมงได้แค่        8 เดือน  แต่เขียนบังคับให้จ่ายค่าจ้าง 1 ปี เรือถูกกฎหมายที่มีอยู่ 8-9 พันลำที่ขาดทุนทุกวันนี้ เพราะต้นทุนที่ออกไปค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกัน…ผมยืนยันว่าเรือประมงผิดกฎหมายมันสูญพันธุ์ไปแล้ว และการแก้ไขเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เราจะมาทำลายประมงพื้นบ้าน”มงคล กล่าว

‘นักวิชาการ มธ.’แนะรัฐบาลสร้างมาตรฐานประมงยั่งยืน-สางปัญหา IUU ทำสินค้าให้ได้มาตรฐานยุโรปใส่ใจกระบวนการผลิตแข่งขันได้ทั่วโลก

จารุประภา รักพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า  ขณะนี้ ประเทศไทยในเรื่องเขตการค้าเสรี (FTA) ในสหภาพยุโรป (EU) กำลังอยู่ในช่วงเจรจากำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งเท่าที่ทราบเรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) จะเป็นกรอบแรกที่จะดำเนินการเจรจา คาดว่าตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไปจะมีการลงรายละเอียดว่าจะมีการหารือกันในเรื่องใดบ้าง ทั้งนี้ในมุมมองของ EU ในเรื่องของมาตรฐานสินค้าและความปลอดภัยทางอาหารที่ส่งออกจากประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ได้ค่อนข้างประสบความสำเร็จ และ EU ไม่ได้มองจุดนี้แล้วแต่มองไปที่มาตรฐานที่ควรคาดหวังอื่นๆ  EU รับสินค้าจากไทยไม่เกิน 3 % ของมูลค่าสินค้านำเข้าจากทั่วโลก แต่เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ของโลก ฉะนั้น EU จึงเน้นไปที่มาตรฐานเรื่องการประมงอย่างยั่งยืน และ          มีความเกี่ยวข้องกับ IUU ทั้งประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งกระบวนการในภาคอุตสาหกรรมประมง ตลาดยุโรปจึงเป็นตัวชี้วัดสำคัญ ถ้าเราทำตามมาตรฐานยุโรปได้แปลว่าเราส่งสินค้าไปที่ไหนในโลกก็ได้ เพราะประเทศอื่นมีการเทียบมาตรฐานตัวเองกับมาตรฐานยุโรปเช่นเดียวกัน ยุโรปเป็นตลาดใหญ่ แม้จะไม่ได้มีมูลค่าเยอะที่สุด แต่เป็นตลาดที่มีคุณภาพ และสินค้าของเราที่ไปยุโรป เป็นสินค้าที่เราสร้างมูลเพิ่มได้มาก กระบวนการผลิตเกิดขึ้นประเทศไทยมากขึ้น เรามีการจ้างแรงงานจำนวนมาก และได้กำไรจากสิ่งนี้มาก

“ถ้าเราแข่งกันเฉพาะในเรื่องของสินค้าราคาถูก มันก็จะต้องถูกแซงเข้าสักวัน เราจึงต้องไปเคลื่อนในเรื่องคุณภาพ ถ้าเรามองว่าตลาดยุโรปสำคัญลูกค้าแคร์ในเรื่องกระบวนการผลิตและวิธีการผลิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่แค่สินค้า ใหญ่ ดี สด แต่เป็นเรื่องของกระบวนการผลิตและวิธีการผลิตได้มาตรฐานของประเทศปลายทางแล้วหรือไม่ ซึ่งแสดงออกด้วยตราสัญลักษณ์             ตรามาตรฐาน หรือแม้ไม่ได้แสดงตราแต่ตอนที่ตอนที่ประเทศไทยได้ใบเหลืองใน IUU ยอดสินค้า       ตกทันที ดังนั้นมันจึงต้องมีการปรับเพื่อทันตามกระแสโลก” จารุประภา กล่าว

จารุประภา ทิ้งท้ายว่า รัฐบาลต้องหาจุดสมดุลในเรื่องนี้ให้ดี เพราะถ้าสร้างสมดุลได้ไม่ดี มันจะมีผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ และถูกทิ้งไว้ข้างหลัง รัฐจึงต้องเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ เราจึงต้องแข่งในเรื่องคุณภาพ เอาเทคโนโลยี     มาช่วย และความรู้ที่มีมาเป็นการลดต้นทุน ต้องเคลื่อนไปอย่างนี้เพื่อให้โตอย่างยั่งยืน และเป็นเจ้าในการผลิตสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป  ขณะที่เรื่องแรงงานนั้นปัจจุบันเป็นประเด็นที่สำคัญมาก การมีมุมมองเรื่องแรงงานข้ามชาติมีความจำเป็นและควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพสำคัญ เพราะมีความจำเป็นในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมประมงไทย ถ้าขาดแรงงานข้ามชาติก็เหมือนไทยขาดฟันเฟือง เพราะบางอย่างเป็นงานที่ต้องใช้คน ไม่สามารถใช้เครื่องจักรได้ แรงงานข้ามชาติจึงเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain เป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องพัฒนาไปด้วยกัน