จดหมายเปิดผนึก ข้อห่วงใยและข้อเสนอต่อผลกระทบการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติจากพม่าในกรณีสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า จาก Migrant Working Group
|
จากสถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา ตรงข้ามพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นมา ได้ทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารเมี ยนมาที่ประกอบด้วยกองกำลั งผสมจากกองกำลังสหภาพแห่งชาติ กะเหรี่ยง (KNU) กองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF) และกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) ได้เข้าโจมตีฐานที่มั่ นของทหารเมียนมาในพื้นที่รอบเมื องเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และสามารถเข้ายึดฐานที่มั่ นของทหารเมียนมาได้อย่างต่อเนื่ อง
จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้มี แนวโน้มว่า อาจจะลุกลามจนทำให้เกิดการปิดด่ านชายแดน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเดิ นทางและความปลอดภั ยของประชาชนในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งผู้ที่ต้องเดินทางในพื้ นที่ชายแดน ทั้งนี้ในปัจจุบั นแนวนโยบายการบริหารจั ดการแรงงานข้ามชาติ ของกระทรวงแรงงาน มีกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มี ความเสี่ยงที่จะได้รั บผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่ าวอย่างน้อย 3 กลุ่ม ได้แก่
หนึ่ง กลุ่มแรงงาน MoU ที่ครบ 4 ปี และอยู่ระหว่างการดำเนินการกลั บเข้ามาทำงานใหม่ตามมติครม. 3 ตุลาคม 2566 ซึ่งต้องเดินทางไปยังพื้นที่ ชายแดนแม่สอด-เมียวดี เพื่อจะดำเนินการตามเงื่ อนไขของมติครม.ข้างต้น โดยจะมีระยะเวลาผ่อนผันให้อยู่ ในประเทศไทยเพื่อรอการดำเนิ นการชั่วคราวได้ถึง 30 เมษายน 2567 เท่านั้น ซึ่งประเมินว่ามีประมาณ 50,000
สอง กลุ่มแรงงาน MoU ที่ครบ 4 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่งตามเงื่อนไขจะต้องเดิ นทางกลับประเทศต้นทางและมี ระยะเวลาพัก 30 วัน ก่อนนำเข้ามาทำงานในประเทศไทยอี กครั้ง ซึ่งจะมีจำนวนประมาณ 100,000 คน
สาม กลุ่มจ้างงานตามฤดูกาลหรือไปกลั บตามมาตรา 64 ของพรก.การบริหารจั ดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ซึ่งจะใช้บัตรผ่านแดนเดินทางเข้ ามาทำงานในพื้นที่ชายแดนประมาณ 20,000 คน
แรงงานข้ามชาติทั้ง 3 กลุ่มนี้ได้รั บผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ การสู้รบในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งมาตรการอื่นๆ ของรัฐบาลทหารพม่า เช่น มาตรการบังคับเกณฑ์ทหาร หากไม่มีมาตรการจากรั ฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้ นย่อมเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิ จการผลิตของประเทศไทยโดยเฉพาะอุ ตสาหกรรมการส่งออกที่ใช้แรงงาน MoU เป็นจำนวนมาก รวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่ มีการจ้างแรงงานประเภทไปกลับ รวมทั้งหากไม่มีการแก้ไขเบื้ องต้นประเทศไทยอาจจะมีแรงงานข้ ามชาติที่ต้องอยู่อาศั ยและทำงานแบบไม่ถูกต้ องตามกฎหมายในประเทศไทยเกือบ 2 แสนคน
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทางเครือข่ายองค์กรด้ านประขากรข้ามชาติ มีข้อเสนอต่อ รัฐบาลไทยและกระทรวงแรงงานดังนี้
1. กระทรวงแรงงานควรเสนอให้คณะรั ฐมนตรีมีนโยบายผ่อนผั นขยายเวลาการดำเนินการออกไปก่อน โดยกำหนดให้นายจ้างและแรงงานข้ ามชาติใช้หลักฐานเอกสารเดิม และแบบบัญชีรายชื่อที่ ออกโดยสำนักงานจัดหางาน มายื่นขออนุญาตทำงาน เพื่อสามารถทำงานและอยู่อาศั ยในประเทศไทยได้ไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2567
2. กระทรวงแรงงานควรเสนอให้คณะรั ฐมนตรีมีมติผ่อนผันให้แรงงาน MoU ครบ 4 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ให้อยู่และทำงานในประเทศไทยได้ เป็นการชั่วคราวไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่การได้รับอนุญาตให้ ทำงานเดิมสิ้นสุด โดยใช้เอกสารหนังสือเดินทาง และใบอนุญาตทำงานเดิมมาเป็นหลั กฐานในการยื่นขออนุญาตทำงาน
3. กระทรวงแรงงานควรเสนอคณะรั ฐมนตรีให้มีการผ่อนผันให้แก่ แรงงานข้ามชาติที่ทำงานอยู่ในพื้ นที่ชายแดนไทย-พม่า ตามเงื่อนไขของการขออนุ ญาตทำงานตามมาตรา 64 ของพรก.การบริหารจั ดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2567 ให้สามารถอยู่ และทำงานในประเทศไทยได้เป็ นการชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 ปี และพิจารณาต่อได้อีกครั้งละ 1 ปีตามมติของคณะกรรมการบริหารจั ดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยให้มีการดำเนินการจัดทำทะเบี ยนประวัติและยื่นขออนุ ญาตทำงานกับสำนักงานจัดหางานต่ อไป
ทั้งนี้เพื่อบรรเทาปั ญหาทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการ และเพื่อความปลอดภัยและแก้ไขปั ญหาของแรงงานข้ามชาติ ที่ไม่สามารถดำเนินการตามเงื่ อนไขของมติคณะรัฐมนตรี และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จนกว่าสถานการณ์ในประเทศพม่ าจะดีขึ้น
เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ ามชาติ
11 เมษายน 2567


ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
นายอดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงาน เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
โทรศัพท์ 089 788 7138 หรือ อีเมล์ [email protected]
Veerawat Kamkom | Communication officer