จดหมายเปิดผนึกจากเครือข่ายแรงงานประชากรข้ามชาติในประเทศไทย

วันที่ 4 ธันวาคม 2567

จดหมายเปิดผนึกจากเครือข่ายแรงงานประชากรข้ามชาติในประเทศไทย

เรียน พณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร

เครือข่ายแรงงานประชากรข้ามชาติในประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับการการต่ออายุแรงงานข้ามชาติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่24กันยายน2567 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าว สัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ที่ลงนามโดย พณฯท่านนายกรัฐมนตรีแพทองทาน ชินวัตร กับนายอนุทิน ชาญวีรกูล  ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ดังนี้

  1. ไม่เห็นด้วยระบบที่มีระยะการขึ้นทะเบียนที่สั้น จะทำให้นายหน้า ได้รับผลโยชน์ในการเก็บเรียกเก็บเงิน ในราคาแพงเกิน ความจำเป็น  เนื่องด้วยระยะเวลา ในการต่ออายุเอกสารของแรงงานข้ามชาติ ที่อยู่ในประเทศไทยมีระยะเวลาสั้น มีความจำเป็นต้องต่ออายุเอกสารของแรงงานเมียนมา จำนวนกว่า 2 ล้านคน และต้องทำเอกสารให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 และ สถานที่ในการเซ็นต์สัญญาเพียง 3 แห่ง คือ เชียงใหม่ กรุงเทพ และระนอง ซึ่งไม่สอดคล้องกับระยะเวลาที่สั้นและขั้นตอนที่ซับซ้อน
  2. ไม่เห็นด้วยกับการที่ไม่มีการกำหนดค่าใช้จ่ายที่สามารถตรวจสอบได้เอกสารที่แรงงานข้ามชาติ ที่จะต้องดำเนินการต่ออายุมีค่าใช้จ่าย ค่อนข้างสูง สำหรับแรงงานที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย  ค่าใช้จ่ายปัจจุบันที่เรียกเก็บสำหรับกลุ่มแรงงานที่ต่ออายุ จำนวนเงิน15,000 – 17,000 บาท และค่า Namelist 2,000 บาทแรงงานบางคนจะต้องถูกหักจากค่าแรง หรือต้องไปกู้หนี้ แรงงานหลายคนที่ตัดสินใจที่จะไม่ต่ออายุ และจะทำให้เข้าสู่การเป็นแรงงานที่หลุดออกจากระบบ แรงงานจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์แรงงานบังคับ ที่ผ่านมาแรงงานมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนเล่มเอกสารประจำตัวใหม่ มีการจัดเก็บจากสถานทูตที่สูงถึง 4,000-5,000 บาท และมีขั้นตอนที่ยากและซับซ้อน
  3. ไม่เห็นด้วยกับระบบการจัดการเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล แรงงานมีความกลัว เพราะจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยต่อชีวิตและครอบครัวของแรงงานที่ประเทศต้นทาง
  4. ไม่เห็นด้วยกับการที่จะมีการเก็บภาษีย้อนหลัง1ปี และ เก็บภาษี 2 เปอร์เซ็นต์ทุกๆเดือนจากแรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นเงินที่เรียกเก็บโดยมิชอบต่อแรงงาน
  5. ไม่เห็นด้วยที่แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาต้องส่งเงินกลับประเทศ ในอัตรา25เปอร์เซ็นต์ต่อเดือนและต้องแสดงหลักฐานใบเสร็จ หากไม่สามารถแสดงหลักฐานได้จะมีผลต่อการต่อเอกสารแรงงาน
  6. ไม่เห็นด้วยกับการต่อเอกสารในการจัดการแบบ MoU ในสถานการณ์ที่ประเทศเมียนมาไม่มีความโปร่งใส และไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งจะส่งผลต่อความยากลำบากและความกังวลใจที่แรงงานข้ามชาติในไทยต้องเผชิญ

ข้อเสนอของครือข่ายแรงงานประชากรข้ามชาติในประเทศไทยขอให้รัฐบาลไทยยกเลิกแบบระบบ MoU และบริหารจัดการในประเทศไทยฝ่ายเดียวก็พอ เพราะในที่ประเทศเมียนมาไม่มีความโปร่งใส และไม่สามารถตรวจสอบได้

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

เครือข่ายประชากรข้ามชาติในประเทศไทย

 1.  ชุมชนสมานฉันท์แรงงานข้ามชาติ(MWSC)

 2. Myanmar Migrant Network in Thailand

3. สหพันธ์คนงานข้ามชาติ ( MWF )

4. กลุ่มคนงานหญิงเพื่อความยุติธรรม ( WJG.)

5. Rights & Development For Migrant Workers Network


ติดต่อประสานงาน  นางสาวสุธาสินี แก้วเหล็กไหล  081-4328259